หากใครเคยศึกษา ประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือแม้แต่ภาพยนต์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่เคยฉายบนแผ่นฟิล์มบน โรงภาพยนต์ และสร้างความประทับใจ ให้กับคอหนังไทยมาแล้ว น่าจะเคยได้ยินคุ้นหู หรือผ่านสายตากับ ไก่ชน ไก่คู่กายอีกหนึ่งชนิดของพระองค์ นั้นก็คือ ไก่ชนเหลืองหางขาว ที่มีความพิเศษ และน่าสนใจอย่างไร ในวันนี้ทาง เว็บไก่ชน จะพาทุกท่านไปติดตาม ประวัติไก่ชนเหลืองหางขาว
เปิดประวัติและความเป็นมาของ ไก่ชนเหลืองหางขาว
ประวัติไก่ชนเหลืองหางขาว เป็น ไก่พื้นเมือง ของไทยสายพันธุ์หนึ่ง ที่พัฒนามาจาก ไก่บ้านพันธุ์กะตังอู หรือไก่อู มีประวัติความเป็นมาควบคู่กับวิถีชีวิตของคนไทยโบราณ พบว่ามีการนำไก่มาชนกัน ตั้งแต่สมัยสุโขทัย เมื่อชาวบ้านว่างเว้นจากการทำไร่ทำนา พวกเขาจะนำไก่มาชนกัน พนันไก่ชน เป็นการเล่นสนุก จากกิจกรรมของชาวบ้าน ชาวไร่ ชาวนา แพร่กระจายไปสู่หมู่ขุนนาง เจ้าขุน เจ้านาย และต่อมาได้พัฒนาเป็นกีฬาพระราชา ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเจ้าเสือ และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ไก่เหลืองหางขาว ที่นิยมเป็นพันธุ์แท้ดั้งเดิม ต้องเป็นไก่บ้านกร่าง บ้านหัวเท จังหวัดพิษณุโลก เพราะไก่พิษณุโลกมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ครั้งหนึ่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อทรงพำนักอยู่ในประเทศพม่า ได้ทรงนำไก่เหลืองหางขาวจากพิษณุโลก ซึ่งเป็นเมืองพระราชบิดาของพระองค์ ไปชนกับไก่ของพระมหาอุปราชา ไก่เหลืองหางขาวมีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่น มีความฉลาดปราดเปรียว อึด ทน และมีเชิงแปดกระบวนท่า ไก่เหลืองหางขาวจึงชนะไก่พม่ามาตลอด
ครั้งหนึ่งในการชนไก่หน้าพระที่นั่ง ไก่เหลืองหางขาวของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตีไก่เหลืองโยดอกหมากหางดำ ของพระมหาอุปราชาจนคอหักล้มลง และแพ้ ทำให้พระมหาอุปราชาทรงอับอายและกล่าวแก้ว่า ไก่เชลยตัวนี้เก่งจริง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงทรงกล่าวตอบโต้ด้วยความภาคภูมิใจว่า “ไก่เชลยตัวนี้อย่าว่าแต่จะตีอย่างกีฬาในวังเหมือนวันนี้เลย ตีพนันเอาบ้านเมืองกันก็ยังได้”
พระองค์ได้กล่าวอย่างไม่สะทกสะท้าน และมั่นพระทัยใน ไก่เหลืองหางขาว ของพระองค์อย่างมาก ซึ่งทำให้พระมหาอุปราชาทรงเกรงกลัว ได้หาหนทางกลั่นแกล้ง และกำจัดสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จนเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวนำไปสู่การกอบกู้เอกราชจากพม่าได้ โดยไก่เหลืองหางขาวจึงมีชื่อเสียงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ไก่เจ้าเลี้ยง” และ “ไก่พระนเรศวร”
ปัจจุบันชาวพิษณุโลกมีความภาคภูมิใจ และหวงแหนในสมบัติล้ำค่าทางประวัติศาสตร์นี้มาก จึงมีการอนุรักษ์ และพัฒนาไก่สายพันธุ์นี้มาโดยตลอด ในประเทศที่มีกีฬาชนไก่ ไก่ไทยเหลืองหางขาวเป็นที่รู้จัก ยอมรับในวงกว้าง
วิธีดูไก่ชนเป็น ไก่ชนเหลืองหางขาว ที่มีลักษณะพิเศษ

- ลักษณะพระเจ้าห้าพระองค์ ไก่ชนเหลืองหางขาว ที่มีหย่อมกระ (มีสีขาวแซม) 5 แห่ง ได้แก่ บริเวณท้ายเสนียด หัวปีกทั้งสองข้าง และข้อขาทั้งสองข้าง โบราณถือว่า ไก่ลักษณะนี้มีเทพรักษาถึง 5 พระองค์ จึงถือเป็นไก่สกุลสูง หรือ “พระยาไก่”
- สร้อยคอ สร้อยหลัง สร้อยปีก มีสีเหลืองทองอร่าม เรียกว่า “เหลืองประภัสสร”
- สร้อยใต้ปีก มีขนใต้โคนหางขลิบเหลือง เหนือทวารหนัก ประสานกันแหลมขึ้นไป ที่โคนหางคล้ายดอกบัว เรียกว่า “บัวคว่ำ – บัวหงาย”
- ขนบริเวณใต้โคนหาง จะมีขนใต้โคนหางขลิบเหลือง อยู่เหนือทวารหนักของไก่ ประสานกันแหลมขึ้นไป ที่โคนหางคล้ายดอกบัว เรียกว่า บัวคว่ำ – บัวหงาย
- ก้านขนสร้อยและหางกะลวย มีสีขาวปลอด
- ขนหู มีสามสี ได้แก่ สีเหลือง สีขาว และสีดำ
- ฝาปิดจมูก มีสีขาว
- เกล็ดสำคัญ เกล็ดพิฆาต ได้แก่ เสือซ่อนเล็บ เหน็บใน ไชบาดาล ผลาญศัตรู เป็นต้น
ลักษณะของไก่เหลืองหางขาวเพศเมียหรือแม่พันธุ์
ไก่เหลืองหางขาวเพศเมีย หรือแม่พันธุ์ มีลักษณะทั่วไป ใกล้เคียงกับเพศผู้หรือพ่อพันธุ์ คือ ขนพื้นตัวมีสีดำตลอด มีจุดหย่อมกระขาว 5 จุด (ลักษณะพระเจ้าห้าพระองค์) ที่หัว หัวปีกทั้งสอง ข้อขาทั้งสอง ปาก ตา แข้ง และเล็บสีขาวอมเหลืองแบบงาช้าง ปากมีร่องน้ำทั้งสองข้าง ปีกในดำ ปีกนอก และปีกไชแซมขาว บางตัวจะปรากฏสร้อยคอสีเหลืองสดใส บางตัวมีเดือย เช่น เพศผู้
ติดตามข้อมูลไก่ชน กีฬาพื้นบ้านไทย ได้ที่ เว็บไก่ชน ของเรา
สำหรับ ไก่ชนเหลืองหางขาว เป็นไก่ชนสายพันธุ์เก่าแก่ ที่มีประวัติยาวนาน สายพันธุ์นี้เป็นที่รู้จักและนิยมในยุคของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ทรงเลี้ยงไก่เหลืองหางขาวไว้เป็นสัตว์เลี้ยงคู่กาย และใช้ในการแข่งขันชนไก่ เพื่อแสดงถึงความแข็งแกร่ง และความสามารถในการต่อสู้ ไก่เหลืองหางขาว จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ ความเป็นผู้นำ สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับ ไก่ชน พนันไก่ชน ได้ที่หน้าเว็บไซต์ของเราเลย
สนใจอ่านข้อมูลไก่ชนพันธุ์ต่าง ๆ : ไก่ชนพม่า